วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การรักษานอนกรนด้วย CPAP

CPAP (continuous positive airway pressure)

            ผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนและต้องการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศเพื่อช่วยหายใจขณะนอนหลับ ที่รู้จักกันคือ CPAP (continuous positive airway pressure) ซึ่งการรักษาด้วย CPAP นั้นจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหยุดหายในขณะหลับอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นอาการที่อันตรายมากและควรรีบรักษาโดยด่วน ผู้ป่วยมีอาการระบบหายใจล้มเหลว, มีออกซิเจนในเลือดลดลง และผู้ป่วยที่ไม่ต้องการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนกลุ่มนี้จะได้รับการรักษาโดยการใช้เครื่อง CPAP แต่มีข้อห้ามในการใช้ ดังนี้
  • ช่องจมูกตีบตันมาก
  • แรงดันอากาศที่ใช้เปิดช่องทางเดินหายใจสูงเกินไป
  • ควรงดใช้ CPAP ชั่วคราว ในขณะที่มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
  • มีลมรั่วเข้าช่องปอด
  • ผู้ป่วยปัญญาอ่อนหรือผู้ป่วยโรคจิต
            และนอกจากนี้ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเล็กน้อยจากการใช้ CPAP เช่น อาการระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องจมูก, อาการแสบตา เคืองตา ตาแห้ง, ลมเข้ากระเพาะอาหารทำให้ท้องอืด ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถทนใช้เครื่อง CPAP ในขณะนอนหลับได้เกิน 3 เดิน เพราะรำคาญที่จะต้องใส่หน้ากากนอนทุกวัน