วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

อาการแพ้ยางและข้อควรปฏิบัติ

                 ในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวโรคผิวหนังกันมาก และบางรายมีอาการแพ้สิ่งต่างๆ ที่สัมผัสแล้วเกิดการระคายเคือยต่อผิวหนัง แม้บ้างรายมีการป้องกันโดยการสวมถุงมือยางแล้วแต่ก็มีการแพ้ถุงมือ มีผื่นแดงขึ้น หรือเป็นตุ่มน้ำ เป็นต้น การแพ้ยางในปัจจุบันพบมากในกลุ่มผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ถุงมือในการปฏิบัติงานหรือทำกิจวัตรประจำวัน เช่น แม่ค้าขายอาหาร ขายผัก หรืออาชีพที่ต้องอยู่กับความชื้น เป็นต้น ซึ่งอาการแพ้ยางจากถุงมือนั้นจะแบ่งได้ดังนี้

อาการแพ้ยางมี 2 ชนิด
  1. แพ้แบบลมพิษ เป็นการแพ้โปรตีนของยาง ซึ่งมีอาการตั้งแต่ลมพิษธรรมดา, หายใจลำบาก จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ 2. 
  2. แพ้แบบผิวหนังอักเสบ เป็นการแพ้ต่อสารที่ใส่ในขบวนการผลิตยาง ซึ่งจะเป็นตุ่มมีลักษณะนูนแดง และน้ำใสเล็กๆ 
หากเกิดอาการแพ้ยางควรปฏิบัติตนอย่างไร 1.
  1. หากคุณมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ถุงมือเพื่อทำกิจวัตรในแต่ละวันนั้น ขอแนะนำว่าไม่ควรใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันอาการแพ้ยาง ควรใช้ถุงมือพลาสติกธรรมดาทั่วไปจะดีกว่า หรือหากจำเป็นต้องสวมถุงมือยางจริงๆ ก็ควรที่จะใช้ถุงพลาสติกหุ้มมือไว้เสียก่อนแล้วค่อยสวมถุงมือที่เป็นยางทับอีกทีก็สามารถทำได้เช่นกัน 2. 
  2. ห้ามหรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสยางให้มากที่สุด 3. 
  3. หากคุณสัมผัสกับยางแล้วเกิดอาการคัน บวม เป็นผื่นแดง หรือหายใจลำบาก ควรรีบพบแพทย์ และรีบแจ้งหมอด้วยว่าคุณมีการแพ้ยางให้หมอทราบ เพื่อให้ระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์แพทย์ที่เป็นยาง โดยเฉพาะถุงมือยางที่ใช้ด้านการแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น